Mordee

ส่วนลด โปรโมชัน และ ดีลพิเศษ ด้านทันตกรรมและความงาม

ซื้อคูปองส่วนลดเพื่อจองใช้บริการ จัดฟันสวย ฉีดโบท็อกซ์ เสริมความงาม และศัลยกรรมอื่น ๆ มากมายใกล้คุณ

Dollars sign จองกับเราไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ค้นหาจากแผนที่

คลินิก / ร้าน อื่นๆ ที่มี การส่องกล้อง

โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรงพยาบาลกรุงเทพ
Mordee ห้วยขวาง, กรุงเทพมหานคร
3.76 จาก 5
466 รีวิว
2024 ภาษาอาหรับ ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ทันตกรรม ศัลยกรรมตกแต่งความงาม ผ่าตัดรักษาโรคอ้วน รถรับ-ส่ง ที่สนามบิน ร้านกาแฟ ที่พักสำหรับครอบครัว
โรงพยาบาลกรุงเทพ (หรือที่รู้จักกันในนาม ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ) เป็นศูนย์รวมของกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ และเป็นหนึ่ง ในศูนย์การแพทย์ที่ใหญ่ที่สุด ของประเทศไทย ได้รับการรับรองจาก JCI เมื่อปี 2550 ให้บริการด้านการดูแลตติยภูมิ ศัลยกรรมความงาม และการทำทันตกรรม อื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งได้รับความไว้วางใจ... อ่านต่อ
ดูทั้งหมด
การส่องกล้อง
สอบถามกับทางคลินิก

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ การส่องกล้อง ใน ห้วยขวาง, กรุงเทพมหานคร

การส่องกล้อง เป็นวิธีการตรวจ อวัยวะภายในร่างกาย ที่ไม่ใช้การผ่าตัด หรือมีความจ็บปวดน้อย ขั้นตอนง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก โดยใช้กล้องเอนโดสโคปส่อง มีลักษณะ เป็นหลอดที่บางยาว และมีความยืดหยุ่นได้ ที่ปลายสายจะมีกล้อง และไฟติดอยู่ ซึ่งทำให้แพทย์สามารถ เห็นรูปของอวัยวะภายในร่างกาย ของคนไข้บนหน้าจอโทรทัศน์ กล้องเอนโดสโคป สามารถใส่ไปทางปาก หรือทางทวารหนัก การส่องกล้องนี้ ใช้เพื่อ การตรวจดูอวัยวะ วินิจฉัยโรค และการรักษาบางประเภท นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการ ตัดเนื้อเยื่อที่มีขนาดเล็ก เพื่อนำเนื้อมาวิเคราะห์ เพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังเป็นขั้นตอน ในการรักษา ปัญหาระบบทางเดินอาหาร ตรวจแผลในกระเพาะอาหาร แพทย์จะแนะนำ ให้คนไข้ เข้ารับการส่องกล้อง หากมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดท้องอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน มีอาการคลื่นไส้ และอาเจียน หรืออาเจียนเป็นเลือด มีอาการท้องร่วง บ่อยคร้้งเกินไป, มีเลือดปนในอุจจาระ, มีนิ่ว, หรือมีการอุดตันของหลอดอาหาร, มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ, มีอาการปวดหน้าอก และกลืนอาหารลำบาก  การตรวจด้ยการส่องกล้องนั้น มีความรวดเร็ว ปลอดภัย และสามารถวินิจฉัยได้แม่นยำ

การรักษาพยาบาล/ศัลยกรรมนี้เกี่ยวเนื่องกับอะไรบ้าง?

ก่อนการส่องกล้อง แพทย์จะทำการตรวจร่างกายคนไข้ และซักประวัติเสียก่อน  คนไข้จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ ว่ามีอาการแพ้ยาอะไรบ้าง รวมไปถึง โรคประจำตัวของตนเอง ยาและอาหารเสริมที่รับประทาน แพทย์อาจสั่งให้คนไข้ หยุดยาที่รับประทานอย่างเช่น ยาละลายลิ่มเลือด และยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น งดอาหารเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ก่อนการส่องกล้อง การส่องกล้องบางประเภท อาจต้องขับถ่าย หรือสวนล้างลำไส้ให้สะอาด ให้เรียบร้อยเสียก่อน ระหว่างการทำการตรวจ แพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ หรือยาสลบ คนไข้อาจได้ยาคลายความกังวล หากมีอาการกังวล

การส่องกล้องมีหลายประเภทดังต่อไปนี้ง

1. Bronchoscopy คือ การตรวจหลอดลมผ่านทางจมูกหรือปาก

2. Colonoscopy คือ การตรวจลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรงผ่านทางทวารหนัก

3. Cystoscopy คือ การตรวจกระเพาะปัสสาวะ ผ่านทางท่อปัสสาวะ

4.  Laparoscopy คือ การตรวจอวัยวะและเนื้อเยื่อ ในช่องท้อง และเชิงกรานผ่านการลงแผลผ่าตัด

5. Laryngoscopy คือ การตรวจกล่องเสียงผ่านทางจมูกหรือทางปาก

6. Mediastinoscopy คือ การตรวจช่วงว่างระหว่างปวดผ่าน การลงมีดเหนือกระดูกหน้าอก

7. Thoracoscopy คือ การตรวจการทำงาน ของทรวงอกและอวัยวะภายใน ผ่านการลงแผนผ่าตัดที่หน้าอก (ปอดและส่วนที่ปกคลุมปอด)

 8. Upper endoscopy หรือ Gastroscopy คือ การตรวจกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น

การตรวจด้วยการส่องกล้องนี้ ใช้เวลาระหว่าง 15 - 60 นาที 

ระยะเวลาพักฟื้นนานแค่ไหน?

ระยะเวลาในการพักฟื้น ขึ้นอยู่กับประเภทของการตรวจ คนไข้อาจมีความรู้สึกไม่สบายเล็กน้อย ดังนั้นจึงควรพัก 1-2 วัน แล้วจึงสามารถกลับไปทำงานตามปกติ สำหรับการส่องกล้องส่วนบนนั้นคนไข้อาจพบอาการเจ็บคอ หรืออาจมีเลือดปนมาในปัสสาวะเป็นเวลา 24 ชั่วโมง แต่หากนานกว่า 24 ชั่วโมง จะต้องรีบมาพบแพทย์ของคุณทันที อีกทั้งนอกจากนี้คนไข้ ยังอาจรู้สึกเจ็บท้องอืดและมีแก๊สในกระเพราะอาหาร รวมถึงตะคริว เป็นต้น

การดูแลหลังเข้ารับการรักษา/ศัลยกรรม?

ภายหลังจากการส่องกล้อง แพทย์จะแนะนำให้คนไข้ พักผ่อนและนอนหลับให้มาก ๆ กินอาหารเหลวเบา ๆ อ่อน ๆ และหลีกเลี่ยงการกิน อาหารทอด ๆ มัน ๆ การดูแลจะแตกต่างกันไป คนไข้อาจต้องพักผ่อน และหลีกเลี่ยงกิจกรรม ที่ต้องใช้กำลัง เป็นเวลาหลายวัน ควรหลีกเลี่ยงยา ที่ทำให้เลือดออกง่าย เช่น แอสไพริน และยารักษาโรคข้ออักเสบ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้บอก ช่วงเวลาในการหยุดยาเหล่านั้น คนไข้อาจได้ยา แก้ปวดกลับบ้านมาด้วย เพื่อแก้อาการปวด คนไข้สามารถแช่น้ำอุ่นได้ หากมีอาการบวม แต่หากยังมีอาการบวมยังคงอยู่ ให้พบแพทย์เพื่อการตรวจรักษา

มีอัตราความสำเร็จมากแค่ไหน?

มีอัตราความสำเร็จสูง และมีขั้นตอนความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามควรระมัดระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การติดเชื้อ การมีเลือดออก, ทางเดินอาหารฉีกขาด และคนไข้จะต้องไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการ ดังต่อไปนี้

1. เจ็บหน้าอก

2. หายใจถี่

3. อุจจาระมีเลือดหรือสีเข้ม

4. อาการปวดท้องรุนแรง

5. อาเจียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออาเจียนเป็นเลือด 

6. ไข้

7. กลืนลำบาก